ภูมิภาคชุบุ(Chubu)มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอยู่มากมายอยู่ติดกับภูมิภาคคันโต(Kanto)และภูมิภาคคันไซ(Kansai)มีเทือกเขาสูงชันทำให้เกิดสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันมากในภูมิภาคนี้ เช่นส่วนที่ติดกับทะเลจะอบอุ่นแต่ในเทือกเขากลับมีหิมะหนาสูง 5 เมตร ประกอบไปด้วย 9 จังหวัดย่อย มีเมืองนาโงยะ(Nagoya)เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาค
ภูมิภาคชุบุมีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ธรรมชาติ ภูเขา ทะเล ไปจนถึงวัฒนธรรมและเทคโนโลยี สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวดังๆ เช่น เทือกเขาแอลป์แห่งญี่ปุ่น ที่มีกำแพงหิมะหรือสโนว์วอลหนาสูงถึง 5 เมตร, ปราสาทมัตสึโมโต้ที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม, หมู่บ้านหลังคาโบราณชิราคาวะโกะ, สกีรีสอร์ท, ชายหาด และเมืองออนเซนอีกมากมาย ทำให้ชุบุสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปีเลย
ภูมิภาคคันไซ(Kansai)เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อศิลปะและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมานานนับพันปีเพราะเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของญี่ปุ่นในอดีตถึง 2 เมืองคือ นะระ(Nara) และ เกียวโต(Kyoto) และในปัจจุบันยังเป็นที่ตั้งของเมืองโอซาก้า(Osaka)ที่เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ญี่ปุ่นด้วย
ภูมิภาคคันไซประกอบด้วยจังหวัดทั้งหมด 6 จังหวัดมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายและมากมายไม่แพ้ภูมิภาคอื่นๆเลยตั้งแต่ ปราสาทฮิเมจิที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น, ทะเลสาบบิวะโกะที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น, แหล่งรวมวัดและศาลเจ้าโบราณและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกที่เมืองเกียวโต รวมถึงสวนสนุกยูนิเวอร์ซัลสตูดิโอ สวนสนุกระดับโลกจากฮอลลีวู้ดที่เมืองโอซาก้า
โอกินาว่า(Okinawa) เป็นจังหวัดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยหมู่เกาะเล็กๆกว่า 12 เกาะ บริเวณครึ่งหนึ่งของเกาะนันเซ โชโตะ(Nansei Shoto) ห่างจากเกาะคิวชูไปกว่า 1,000 กิโลเมตรไปทางไต้หวัน
จังหวัดโอกินาว่าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเกาะใหญ่ๆ ได้แก่ หมู่เกาะโอกินาว่า(Okinawa Shoto) รอบๆเกาะโอกินาว่า(Okinawa Honto) หมู่เกาะมิยาโกะ(Miyako Tetto)รอบๆเกาะมิยาโกะ และหมู่เกาะยาเอยาม่า(Yaeyama Retto)รอบๆเกาะอิชิงากิ(Ishigaki Island)
ทะเลสาบคาวากูจิโกะ(Lake Kawaguchiko) เป็นทะเลสาบที่เดินทางไปถึงได้ง่ายที่สุดในบรรดา 5 ทะเลสาบรอบภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งมีการเชื่อมต่อจากโตเกียวด้วยรถไฟ และรถบัส พื้นที่บริเวณชายฝั่งทิศตะวันออกของทะเลสาบเป็นที่พัก และออนเซนที่สามารถมองเห็นวิวภูเขาไฟฟูจิที่สวยงามได้อย่างชัดเจน
มุมมองที่ดีที่สุดของภูเขาไฟฟูจิ คือชายฝั่งทางตอนเหนือของทะเลสาบ โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ดอกซากุระจำนวนมากเบ่งบานประมาณกลางเดือนเมษายน หนึ่งในจุดชมดอกซากุระคือพิพิธภัณฑ์คาวากูจิโกะมิวสิคฟอร์เรส(Kawaguchiko Music Forest) และฤดูใบไม้ร่วงประมาณครึ่งเดือนแรกของเดือนพฤศจิกายนใบไม้เปลี่ยนเป็นสีแดง ส้ม และเหลืองสลับกัน
แต่อย่างไรก็ตามยอดภูเขาไฟฟูจิมักถูกบดบังด้วยเมฆในช่วงกลางวันแม้สภาพอากาศจะปกติ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงเช้าของทุกๆวัน(ก่อน 9 โมงเช้า) และช่วงบ่ายเย็นๆ
สถานที่ท่องเที่ยวรอบๆทะเลสาบคาวากูจิโกะ มีความหลากหลายและน่าสนใจ ได้แก่
1. กระเช้าคาจิคาจิภูเขาเทนโจ(Kachi Kachi Ropeway)
ระยะทาง 400 เมตร เชื่อมต่อชายฝั่งตะวันออกของทะเลสาบคาวากูจิโกะ กับดาดฟ้าชมวิวใกล้ยอดภูเขาเทนโจ(Mount Tenjo) สูงประมาณ 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลที่มีทัศนียภาพอันงดงามของทะเลสาบด้านล่างรวมกับภูเขาไฟฟูจิ
ค่าใช้จ่าย: ไปกลับ 720 เยน เที่ยวเดียว 410 เยน
เวลาเปิด-ปิด: มีนาคม-พฤศจิกายน 9:00-17:00
ธันวาคม-กุมภาพันธ์ 9:30-16:40 (กระเช้าออกทุกๆ 5-10 นาที)
วันปิดทำการ: เปิดทุกวัน
2. พิพิธภัณฑ์ศิลปะคูโบตะอิตจิคุ(Kubota Itchiku Art Museum)
จัดแสดงผลงานศิลปะของ Kubota Itchiku(1917-2003) ศิลปินผู้ฟื้นฟูศิลปะการย้อมสีผ้าไหมสึจิกาฮานะ(Tsujigahana silk dyeing) จัดแสดงกิโมโนที่สร้างสรรค์ โดยมีรูปภาพธรรมชาติ จักรวาล และฤดูกาลต่างๆ รวมถึงผลงานชิ้นโบแดงที่ยังไม่เสร็จ ชื่อว่า “Symphony of Light” เป็นกิโมโน 30 ชุดที่เรียงต่อกันเป็นรูปภูเขาไฟฟูจิ
ค่าใช้จ่าย: 1,300 เยน
เวลาเปิด-ปิด: เมษายน-พฤศจิกายน 9:30-17:30
ธันวาคม-มีนาคม 10:00-16:30 (เข้าชมก่อนเวลาปิด 30 นาที)
วันปิดทำการ: ทุกวันพุธ ตั้งแต่เดือนธันวาคม-มีนาคม
วันที่ 26-28 ธันวาคม
เปิดในวันหยุดราชการ และพุธของสัปดาห์แรกในเดือนมกราคม
3. พิพิธภัณฑ์ศิลปะคาวากูจิโกะ(Kawaguchiko Museum of Art)
จัดแสดงศิลปะสมัยใหม่ของชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติ รวมถึงคอลเลกชั่นภาพวาด ภาพถ่ายที่เกี่ยวกับภูเขาไฟฟูจิ
ค่าใช้จ่าย: 800 เยน
เวลาเปิด-ปิด: 9:30-17:00(เข้าชมก่อน 16:30)
วันปิดทำการ: ทุกวันอังคาร(ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ) และวันหยุดปีใหม่
4. พิพิธภัณฑ์คาวากูจิโกะมิวสิคฟอร์เรส(Kawaguchiko Music Forest)
5. พิพิธภัณฑ์อัญมณียามานาชิ(Yamanashi Gem Museum)
ภายในจัดแสดงอัญมณี เพชรพลอย และคริสตัลควอทซ์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมได้จากในประเทศญี่ปุ่นและจากทั่วโลก และยังมีร้านค้าจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับอื่นๆอีกด้วย
ค่าใช้จ่าย: 600 เยน
เวลาเปิด-ปิด: 9:00-17:30(มีนาคม-ตุลาคม), 9:30-17:00(พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) เข้าชมก่อนเวลาปิด 30 นาที
วันปิดทำการ: ทุกวันพุธ(ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ) และวันหยุดปีใหม่
6.หอสมุนไพร(Herb Hall)
เป็นร้านค้า สวนสมุนไพร และเรือนกระจกที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้อย่างใกล้ชิด หรือซื้อสมุนไพร ชา และดอกไม้แห้งไว้เป็นของฝากได้อีกด้วย ด้านหลังของหอสมุนไพรเป็นที่ตั้งของหอน้ำหอมที่จำหน่ายน้ำหอม น้ำมันหอมระเหย และสบู่
ค่าใช้จ่าย: ฟรี
เวลาเปิด-ปิด: 9:00-18:00(เดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ปิด 17:30)
วันปิดทำการ: เปิดทุกวัน
ย่านชิบูย่า(Shibuya) แหล่งช้อปปิ้งและเอนเตอร์เทนเม้นท์สุดชิคขนาดใหญ่ใจกลางโตเกียว เป็นหนึ่งในย่านที่คึกคักมีผู้คนพลุกพล่านตลอดเวลา ในบริเวณนี้ถือว่าเป็นแหล่งช้อปปิ้งที่นิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นเนื่องจากมีห้างสรรพสินค้าจำนวนมาก ร้านอาหารเก๋ๆก็มีอยู่ไม่น้อย เนื่องจากเป็นแหล่งช้อปปิ้งที่มีชื่อเสียงทำให้มีร้านเสื้อผ้าแฟชั่นหรือดีไซน์เนอร์ที่ออกแบบเสื้อผ้าเองและเปิดร้านบริเซรนี้ สามารถสร้างแบรนด์สินค้าแฟชั่นของตนเองจนโด่งดังได้หลายต่อหลายแบรนด์
จุดที่เป็นเหมือนสัญลักษ์ของย่านนี้ก็คือ แยกข้ามถนนขนาดใหญ่เป็นการตัดกันของถนนหลายสายด้วยกัน ทำให้เมื่อสัญญาณไปจราจรเปลี่ยนเป็นสีเขียว ผู้คนจากทุกฝั่งถนนก็จะเดินข้ามถนนพร้อมๆกัน เนื่องจากย่านนี้เป็นย่านที่มีคนจำนวนมากดังนั้น เดินเวลาข้ามถนนพร้อมกันจึงแทบจะมองไม่เห็นพื้นที่ถนนว่างๆเลย และที่ให้แยกนี้เป็นจุดที่มีชื่อเสียงและผู้คนนิยมมาเก็บภาพ
ย่านชินจูกุ(Shinjuku) แหล่งบันเทิงและแหล่งช้อปปิ้งขนาดใหญ่ใจกลางเมืองหลวงโตเกียว เป็นศูนย์รวมแฟชั่นเก๋ๆ เท่ห์ๆ ของเหล่าบรรดาแฟชั่นนิสต้า มีสถานีรถไฟชินจูกุที่เป็นเหมือนศูนย์กลางของของย่านนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานีที่คึกคักที่สุดในญี่ปุ่น ในแต่ละวันมีผู้คนจำนวนมากถึง 2.5 ล้านคนที่ใช้บริการสถานีแห่งนี้ ทางด้านตะวันตกย่านนี้ที่เต็มไปด้วยตึกระฟ้าหลายอาคาร มีทั้งโรงแรมชั้น ตึกแฝดที่เป็นสำนักงานรัฐบาลซึ่งด้านบนของตึกนี้เปิดให้ประชาชมเข้าชมฟรี ส่วนทางด้านตะวันออกนั้นคือ คาบูกิโชะ เป็นย่านที่เต็มไปด้วยห้างสรรพสินค้า, ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่าง Big Camera และย่านบันเทิงยามราตรีที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
เมื่อประเทศไทยเดินหน้าสังคม 4.0 แต่ญี่ปุ่นรุดหน้าพัฒนาสังคม 5.0
ปัจจุบันหลายภาคส่วนในประเทศไทย กำลังเดินหน้าพัฒนาผลผลิตของธุรกิจตนเอง ให้ตอบสนอง Thailand 4.0 โดยเฉพาะภาคอสังหาฯ แต่ในขณะเดียวกันฝั่งประเทศญี่ปุ่นกับรุดหน้าพัฒนาสังคมสู่ยุค 5.0 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ไปพร้อมๆ กับการแก้ปัญหาประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่อัตราการเกิดลดน้อยลง ทั้งนี้แรงขับเคลื่อนสังคม 5.0 ในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2559 แม้ปัจจุบันอยู่ในช่วงเวลาของพัฒนาและเตรียมความพร้อมหลายด้าน แต่คาดการณ์ว่าไม่เกิน 5 ปี ทั่วโลกจะได้เห็นภาพอนาคตของสังคมยุค 5.0 ในดินแดนอาทิตย์อุทัยอย่างแน่นอน
ทำความรู้จักสังคมไทยยุคก่อน 4.0
สังคมไทย 1.0 ยุคของเกษตรกรรม
สังคมไทย 2.0 ยุคอุตสาหกรรมเบา มีการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ เช่น โรงงานทอผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับ เป็นต้น
สังคมไทย 3.0 ยุคแห่งความรุ่งเรืองอุตสาหกรรมหนัก ใช้เทคโนโลยีต่างประเทศมาสนับสนุนการส่งออก เช่น อะไหล่รถยนต์ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
สังคมไทย 4.0 ยุคข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้สังคมไทย เข้าสู่ความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ภาพอนาคต “สังคมที่อยู่อาศัยยุค 5.0”
สำหรับสังคม 5.0 เป็นยุคแห่ง Super Smart Society เทคโนโลยีที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องใช้ในโลกอนาคตนี้หนีไม่พ้น นวัตกรรมของหุ่นยนต์ โดยการจะขับเคลื่อนสังคมยุคดังกล่าวให้มีเสถียรภาพ จำเป็นต้องผนวกโลกไซเบอร์ (Cyber Space) กับโลกแห่งความจริงเข้าด้วยกัน (Physical Space) โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน พร้อมมี AI (Artificial Intelligence) ในที่นี้คือหุ่นยนต์เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งจะเห็นภาพอนาคตของสังคมดังกล่าวอย่างชัดเจน จากการจำลองที่อยู่อาศัยในยุค 5.0 ทั้งนี้แม้ในประเทศไทยยังเดินหน้าพัฒนาสังคมช้ากว่าญี่ปุ่น แต่ดูเหมือนว่าทางฝั่งผู้ประกอบการอสังหาฯ จะเริ่มส่งสัญญาสร้างปรากฎการณ์ที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ โดยดึงนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อสนองไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยที่เปลี่ยนไป พร้อมสร้างความเชื่อมั่นแก่กลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งรูปแบบของ สังคมที่อยู่อาศัยยุค 5.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นนำร่อง จะประกอบไปด้วยความน่าสนใจดังต่อไปนี้
ภาพอนาคต “สังคมที่อยู่อาศัยยุค 5.0”
1. นำเทคโนโลยี Smart Partner เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่อาศัย
Smart Partner เป็นเทคโนโลยีความอัจฉริยะที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นระบบสแกนใบหน้าเพื่อเข้าบ้านหรือห้องชุด อันถูกใช้แทนกุญแจหรือคีย์การ์ด รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยทั้งในรูปแบบของอาชญากรรม ภัยพิบัติธรรมชาติ และเหตุฉุกเฉินจากปัญหาสุขภาพ
2. เชื่อมโยงที่อยู่อาศัย ให้เข้ากับ สังคมสูงอายุ Aging Society
สืบเนื่องจากปัจจุบัน แนวโน้มของประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เหตุนี้เองการออกแบบที่อยู่อาศัยในสังคมยุค 5.0 จึงจำเป็นต้องรองรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยดังกล่าว โดยมีเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับคนในชุมชนและเพื่อนบ้าน ทำให้กล่มผู้สูงอายุมีสังคมของตนเอง
3. สร้างปรากฎการณ์ความอัจฉริยะให้กับที่อยู่อาศัย
ความอัจฉริยะของที่อยู่อาศัยยุคนี้ จะถูกซ้อนตัวอยู่ในฟังค์ชันของแต่ละห้องในบ้านหรือห้องชุด โดยเน้นรองรับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่เสพติดโลกโซเชียล จึงออกแบบให้หน้าจอ Touch Screen คอยอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องครัวอัจริยะที่มีหน้าจอให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารต่างๆ แก่แม่บ้าน
ประชาชนได้อะไร จากการพัฒนาสังคมที่อยู่อาศัย 5.0
แน่นอนว่าเมื่อประเทศชาติมีการพัฒนาสังคมที่อยู่อาศัยยุค 5.0 ประชาชนต่างได้ผลพลอยได้ในเรื่องความสะดวกสบาย ต้องการอะไรสามารถสั่งได้ด้วยปลายนิ้วสัมผัส จากนวัตกรรมเทคโนโลยีดังกล่าว แต่แท้ที่จริงแล้วประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับโดยตรง คือ การรองรับเรื่องสภาพความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ทำให้มีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นผู้อยู่อาศัยยังสามารถออกแบบการดำเนินชีวิตอันตอบสนองกับตัวเองได้ด้วย อย่างในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เน้นเรื่องปัญหาสุขภาพเป็นสำคัญ ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่อยู่อาศัย 5.0 จะอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดสังคม 5.0 ซึ่งประกอบไปด้วย
– การเพิ่มโอกาสและศักยภาพของประชาชน โดยตั้งเป้าว่ามีชีวิตที่มั่นคง ยั่งยืน ปลอดภัย
– โครงสร้างธุรกิจแต่ละประเภท โดยเฉพาะภาคอสังหาฯ เข้าสู่ระบบดิจิตอล เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยที่เปลี่ยนไป
แม้ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงของการพัฒนาสังคมที่อยู่อาศัยตามนโยบาย Thailand 4.0 ยังไม่ถึงขั้นจะก้าวเข้าสู่ยุค 5.0 เหมือนอย่างประเทศญี่ปุ่น แต่ใช่ว่าจะไม่มีการเตรียมความพร้อมกับโลกอนาคต เพราะรากฐานของยุค 5.0 ต่างต้องมีองค์ประกอบของสังคมที่อยู่อาศัย 4.0 ที่แข็งแรง ซึ่งอยู่ในกรอบของความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน