Tag Archive บุคคลสำคัญของญี่ปุ่น

ประวัติของ คิโดะ ทาคาโยชิ ที่มีความสำคัญของประเทศญี่ปุ่น

คิโดะ ทาคาโยชิ Kido Takayoshi 1 - คิโดะ ทากาโยชิ

คิโดะ ทากาโยชิ เรียกอีกอย่างได้ว่า “คิโดะ โคอิน” เป็นรัฐบุรุษของญี่ปุ่นในช่วงยุคบากูมัตสึและยุคเมจิ ในช่วงที่เขาทำงานต่อต้านรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เขาใช้ชื่อปลอมว่า ‘นีโบริ มัตสึซูเกะ’ Niibori Matsusuk ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1833 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1877

Kido Takayoshi เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2376 มาจาก ฮางิ จังหวัดยามางูจิ ประเทศญี่ปุ่น และได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2420 ที่เกียวโต จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มีคู่สมรสคือ Matsuko Kido (สมรสเมื่อ พ.ศ. 2411- 2420) การศึกษาที่ Shōka Sonjuku, Meirinkan

คิโดะ ทากาโยชิ - วิกิพีเดีย

ปฐมวัยของ คิโดะ ทากาโยชิ

Kido Takayoshi เกิดที่เมืองฮางิ แคว้นโชชูในปัจจุบันคือจังหวัดยามางูจิหมู่เกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น โดยเขาเป็นบุตรคนสุดท้องของวาดะ มาซากาเงะ คือผู้เป็นซามูไรและนายแพทย์ เมื่อมีอายุครบ 7 ปี ในตระกูลคัตสึระได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรมและให้ใช้ชื่อว่า “คัตสึระ โคโงโร” เมื่อถึง ค.ศ. 1865 ในวัยเด็กนั้นเข้าได้รับการศึกษาจากสำนักเรียนของโยชิดะ โชอิน ซึ่งเป็นผู้ปลูกความคิดในเรื่องความจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิให้แก่คิโดะ

ต่อมาในปี ค.ศ. 1852 Kido Takayoshiได้เดินทางไปยังนครเอโดะเพื่อที่จะศึกษาวิชาดาบเพิ่มและเริ่มการติดต่อกับกลุ่มซามูไรจากแคว้นมิโตะ การศึกษาวิชาการปืนใหญ่กับเองาวะ ทาโรซาเอมง และเดินทางกลับแคว้นโชชูเพื่อควบคุมการสร้างเรือรบแบบตะวันตกลำแรกของแคว้น หลังจากได้สังเกตการต่อเรือเดินทะเลแบบตะวันตกที่เมืองท่านางาซากิและชิโมดะ

การโค่นล้มรัฐบาลโชกุน

หลังปี ค.ศ. 1858 ที่ผ่านมา Kido Takayoshi ได้มาประจำอยู่ในเรือนพำนักของแคว้นโชชูในเอโดะ ซึ่งทำหน้าที่ผู้ประสานงานระหว่างคณะผู้บริหารแคว้นกับกลุ่มซามูไรชั้นผู้น้อยในแคว้นโชชูซึ่งการสนับสนุนแนวคิดซนโนโจอิ เมื่อถูกทางรัฐบาลโชกุนสงสัยในความสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มซามูไรแห่งแคว้นมิโตะซึ่งภักดีต่อองค์พระจักรพรรดิหลังเกิดเหตุการณ์พยายามลอบสังหารอันโด โนบูมาซะ เขาได้ถูกย้ายโดยต้องไปประจำการที่กรุงเกียวโต แต่ในขณะที่อยู่เกียวโตนั้นเขาจึงไม่สามารถยับยั้งการยึดอำนาจโดยกองกำลังของแคว้นไอซุและแคว้นซัตสึมะได้วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1863 ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงส่งผลให้กองกำลังของแคว้นโชชูต้องถูกขับออกจากพระนครหลวง Kido Takayoshi ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนการพยายามทวงอำนาจคืนของแคว้นโชชูเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1864 แต่ได้ล้มเหลวจึงทำให้เขาจำต้องหนีไปซ่อนตัวโดยความช่วยเหลือของเกอิชาที่ชื่อว่า “อิกูมัตสึ” ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภรรยาของเขา จากภายหลังเมื่อกลุ่มซามูไรภายใต้การนำของทากาซูงิ ชินซากุ จึงสามารถควบคุมอำนาจทางการเมืองในแคว้นโชชูได้ คิโดะและได้กลายเป็นตัวสำคัญในการสร้างพันธมิตรระหว่างแคว้นโชชูกับแคว้นซัตสึมะ ซึ่งเป็นการยกระดับความขัดแย้งจนนำไปสู่สงครามโบะชิงและการปฏิรูปเมจิตามลำดับ

รัฐบุรุษในยุคเมจิ

จากความสำเร็จในการโค่นล้มรัฐบาลนั้น โชกุนโทกูงาวะ ได้ทำให้ Kido Takayoshi ได้กล่าวว่าตนมีบทบาทอย่างยิ่งในการก่อตั้งรัฐบาลเมจิขึ้นใหม่ “ซังโย”หรือองคมนตรีแห่งพระจักรพรรดิ เขาได้ช่วยเหลือในการร่างคำปฏิญาณห้าประการ และได้ริเริ่มนโยบายการรวมศูนย์อำนาจสู่รัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยขึ้น จึงมีส่วนร่วมโดยตรงในการยกเลิกระบบแว่นแคว้นของประเทศญี่ปุ่น

ต่อมาในปี ค.ศ. 1871 คิโดะได้เข้าร่วมคณะการทูตอิวากูระในการเดินทางรอบโลกสู่สหรัฐอเมริกาและยุโรป เขาได้สนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับระบบการศึกษาและระบบการเมืองของชาวตะวันตก ซึ่งในระหว่างเดินทางกลับญี่ปุ่น เขาจึงได้กลายเป็นผู้สนับสนุนในการสถาปนาในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และด้วยความตระหนักว่าญี่ปุ่นในช่วงนั้นยังไม่อาจท้าทายได้ต่อมหาอำนาจจากตะวันตก และสาเหตุของการเดินทางกลับในครั้งนั้นของคิโดะจึงได้แก่การยับยั้งความคิดในการรุกรานของเกาหลี ซึ่งกำลังจะเป็นประเด็นในการอภิปรายทางการเมืองที่เล่าร้อนในครั้งนั้นด้วย

Kido Takayoshi ได้สูญเสียตำแหน่งจากกลุ่มคณาธิปไตย เมจิให้แก่โอกูโบะ โทชิมิจิ และลาออกจากรัฐบาลเพื่อเป็นการประท้วงการรุกรานในไต้หวันเมื่อปี ค.ศ. 1874 ซึ่งเขาได้แสดงท่าทีที่คัดค้าน แต่ต่อมาเขาจึงได้กลับเข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งตามผลการตกลงในการประชุมที่โอซากะเมื่อปี ค.ศ. 1875 และเป็นประธานของสภาผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นจากการประชุมดังกล่าวและนอกจากนี้ยังเป็นผู้รับผิดชอบการถวายการศึกษาแก่จักรพรรดิเมจิผู้ยังทรงพระเยาว์อีกด้วย

Kido Takayoshi ได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1877 ด้วยโรคภัยไข้เจ็บทางร่างการของตนซึ่งเบียดเบียนมานานร่วมปี ในเวลานั้นเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับกบฏซัตสึมะ

มรดกจากคิโดะ

บันทึกของ Kido Takayoshi จึงเปิดเผยถึงความขัดแย้งในความคิดของเขา ในระหว่างความภักดีต่อแว่นแคว้นของตนและความภักดีต่อผลประโยชน์ของชาติที่เป็นสิ่งยิ่งใหญ่กว่า ในบ่อยครั้งเขาจะบันทึกถึงเรื่องการต่อสู้กับข่าวเรื่องการทรยศหักหลังต่อเพื่อนเก่าของตน ทั้งนี้เนื่องจากอุดมคติเรื่องความเป็นรัฐชาติในเวลานั้นยังเป็นเรื่องใหม่ และซามูไรส่วนใหญ่มักเป็นห่วงถึงเรื่องการรักษาสถานะของตนภายในแว่นแคว้นของตนเอง

Kido Takayoshi ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสามขุนนางผู้ยิ่งใหญ่ ร่วมกับโอกูโบะ โทชิมิจิ และไซโง ทากาโมริ หลานปู่ของเขาคนหนึ่ง คือ คิโดะ โคอิจิ ได้เป็นนักการเมืองของกรุงโตเกียวและที่ปรึกษาผู้ใกล้ชิดของจักรพรรดิโชวะนั่นเอง

บุคคลสำคัญของญี่ปุ่น

บุคคลสำคัญของญี่ปุ่น

 

1. คิโดะ ทาคาโยชิ (Kido Takayoshi)

คิโดะ

บุตรชายแพทย์ซามูไร Wada Masakage เป็นรัฐบุรุษญี่ปุ่นในช่วงปลายงาวะและฟื้นฟูเมจิ เมื่อเขาทำงานกับโชกุน เขาใช้นามแฝงว่า Niibori Matsusuke เค้าคือ 1 ใน 3 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคปฏิรูปเมจิ ร่วมกับ โอคุโบะ โทชิมิจิ และ ไซโง ทาคาโมริ ทั้ง 3 จะรู้จักในนามว่า “the Ishin-no-Sanketsu” (สามขุนนางแห่งการฟื้นฟู) เป็นตัวแทนของแคว้นโจชู ที่ร่วมมือกับ แคว้นซัทสึมะ ในการโค่นล้มรัฐบาลโชกุน โทกุกาว่า และสถาปนารัฐบาลกลางแห่งองค์จักรพรรดิขึ้นมา รวมทั้งการยกเลิกระบบศักดินา และทำการปฏิรูประบบการเมือง การปกครอง ระบบเศรษฐกิจในญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

 

2. ทาคาสุกิ ชินซาคุ (Takasugi Shinsaku)

คนดังแห่งแคว้นโจชู ทาคาสุกิ มีเป้าหมายเดียวกับ คัทซึระ ในการโค่นล้มรัฐบาลโชกุน ฟื้นฟูอำนาจพระจักรพรรดิ แต่ ทาคาสุกิ เลือกใช้วิธีแบบหัวรุนแรง ก่อตั้งกองกองทหารกว่า 300 คน(ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นซามูไร) โดยใช้ชื่อว่า Kiheitai (เรียกแบบเท่ๆ ในกินทามะว่า กองทหารอสุรา) ขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาล (หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มนี้ก็คือ มือสังหารในตำนาน Kawakami Gensai ต้นแบบของ ฮิมุระ เคนชิน ใน ซามูไรพเนจร นั่นเอง)

 

 

 

 

 

 

3. มัตสึไดระ โยชินากะ (Matsudaira Yoshinaga)

ไดเมียว (เจ้าเมือง) แห่งแคว้นเอจิเซน สมัยเอโดะ เขาเป็นหนึ่งใน 4 ขุนนางที่ฉลาดที่สุดของกลุ่ม Bakumatsu

 

 

 

 

 

 

 

 

4. อาจารย์ ฟุคุซาวะ ยูคิจิ (Fukuzawa Yukichi)

คนสำคัญด้านการศึกษาของญี่ปุ่น ผู้นำระบบการศึกษาแบบตะวันตกเข้ามาใช้สอนในประเทศ อาจารย์ฟุคุซาวะ ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนแรกที่นำวิทยาการสมัยใหม่ของตะวันตกมาสอนให้กับคนญี่ปุ่น โดยตั้งโรงเรียนชื่อ Keio Gijuku ซึ่งในภายหลังได้พัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยเคโอ(Keio University มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

 

 

5. โอคุมะ ชิเงโนบุ (Okuma Shigenobu)

นักการเมืองในจักรวรรดิญี่ปุ่น เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง, เคยเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2, เป็นผู้สนับสนุนเรื่องของวิทยาศาสตร์ตะวันตกและวัฒนธรรมในญี่ปุ่น อีกทั้งท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวาเซดะด้วย

 

 

 

 

 

 

6. ชิโร ไซโง (Shiro Saigo)

ศิษย์รุ่นแรกของ ปรมาจารย์คาโน่ จิโกโร่ (Kano Jigoro) ผู้คิดค้นวิชายูโด อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 4 จตุรเทพแห่งโรงฝึกโคโดคัง ผู้คิดค้นท่าทุ่มยามาอาราชิ อีกด้วย ปัจจุบันเขายังคงอยู่ในไอดอลญี่ปุ่นที่หนังสือหลายเล่มและภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับชีวิตความสำคัญของเขาและความกล้าหาญของเขาในฐานะนักสู้