Category Archiveบุคคลสำคัญของญี่ปุ่น

ประวัติของ คิโดะ ทาคาโยชิ ที่มีความสำคัญของประเทศญี่ปุ่น

คิโดะ ทาคาโยชิ Kido Takayoshi 1 - คิโดะ ทากาโยชิ

คิโดะ ทากาโยชิ เรียกอีกอย่างได้ว่า “คิโดะ โคอิน” เป็นรัฐบุรุษของญี่ปุ่นในช่วงยุคบากูมัตสึและยุคเมจิ ในช่วงที่เขาทำงานต่อต้านรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เขาใช้ชื่อปลอมว่า ‘นีโบริ มัตสึซูเกะ’ Niibori Matsusuk ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1833 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1877

Kido Takayoshi เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2376 มาจาก ฮางิ จังหวัดยามางูจิ ประเทศญี่ปุ่น และได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2420 ที่เกียวโต จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มีคู่สมรสคือ Matsuko Kido (สมรสเมื่อ พ.ศ. 2411- 2420) การศึกษาที่ Shōka Sonjuku, Meirinkan

คิโดะ ทากาโยชิ - วิกิพีเดีย

ปฐมวัยของ คิโดะ ทากาโยชิ

Kido Takayoshi เกิดที่เมืองฮางิ แคว้นโชชูในปัจจุบันคือจังหวัดยามางูจิหมู่เกาะฮนชู ประเทศญี่ปุ่น โดยเขาเป็นบุตรคนสุดท้องของวาดะ มาซากาเงะ คือผู้เป็นซามูไรและนายแพทย์ เมื่อมีอายุครบ 7 ปี ในตระกูลคัตสึระได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรมและให้ใช้ชื่อว่า “คัตสึระ โคโงโร” เมื่อถึง ค.ศ. 1865 ในวัยเด็กนั้นเข้าได้รับการศึกษาจากสำนักเรียนของโยชิดะ โชอิน ซึ่งเป็นผู้ปลูกความคิดในเรื่องความจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิให้แก่คิโดะ

ต่อมาในปี ค.ศ. 1852 Kido Takayoshiได้เดินทางไปยังนครเอโดะเพื่อที่จะศึกษาวิชาดาบเพิ่มและเริ่มการติดต่อกับกลุ่มซามูไรจากแคว้นมิโตะ การศึกษาวิชาการปืนใหญ่กับเองาวะ ทาโรซาเอมง และเดินทางกลับแคว้นโชชูเพื่อควบคุมการสร้างเรือรบแบบตะวันตกลำแรกของแคว้น หลังจากได้สังเกตการต่อเรือเดินทะเลแบบตะวันตกที่เมืองท่านางาซากิและชิโมดะ

การโค่นล้มรัฐบาลโชกุน

หลังปี ค.ศ. 1858 ที่ผ่านมา Kido Takayoshi ได้มาประจำอยู่ในเรือนพำนักของแคว้นโชชูในเอโดะ ซึ่งทำหน้าที่ผู้ประสานงานระหว่างคณะผู้บริหารแคว้นกับกลุ่มซามูไรชั้นผู้น้อยในแคว้นโชชูซึ่งการสนับสนุนแนวคิดซนโนโจอิ เมื่อถูกทางรัฐบาลโชกุนสงสัยในความสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มซามูไรแห่งแคว้นมิโตะซึ่งภักดีต่อองค์พระจักรพรรดิหลังเกิดเหตุการณ์พยายามลอบสังหารอันโด โนบูมาซะ เขาได้ถูกย้ายโดยต้องไปประจำการที่กรุงเกียวโต แต่ในขณะที่อยู่เกียวโตนั้นเขาจึงไม่สามารถยับยั้งการยึดอำนาจโดยกองกำลังของแคว้นไอซุและแคว้นซัตสึมะได้วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1863 ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงส่งผลให้กองกำลังของแคว้นโชชูต้องถูกขับออกจากพระนครหลวง Kido Takayoshi ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนการพยายามทวงอำนาจคืนของแคว้นโชชูเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1864 แต่ได้ล้มเหลวจึงทำให้เขาจำต้องหนีไปซ่อนตัวโดยความช่วยเหลือของเกอิชาที่ชื่อว่า “อิกูมัตสึ” ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภรรยาของเขา จากภายหลังเมื่อกลุ่มซามูไรภายใต้การนำของทากาซูงิ ชินซากุ จึงสามารถควบคุมอำนาจทางการเมืองในแคว้นโชชูได้ คิโดะและได้กลายเป็นตัวสำคัญในการสร้างพันธมิตรระหว่างแคว้นโชชูกับแคว้นซัตสึมะ ซึ่งเป็นการยกระดับความขัดแย้งจนนำไปสู่สงครามโบะชิงและการปฏิรูปเมจิตามลำดับ

รัฐบุรุษในยุคเมจิ

จากความสำเร็จในการโค่นล้มรัฐบาลนั้น โชกุนโทกูงาวะ ได้ทำให้ Kido Takayoshi ได้กล่าวว่าตนมีบทบาทอย่างยิ่งในการก่อตั้งรัฐบาลเมจิขึ้นใหม่ “ซังโย”หรือองคมนตรีแห่งพระจักรพรรดิ เขาได้ช่วยเหลือในการร่างคำปฏิญาณห้าประการ และได้ริเริ่มนโยบายการรวมศูนย์อำนาจสู่รัฐบาลและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยขึ้น จึงมีส่วนร่วมโดยตรงในการยกเลิกระบบแว่นแคว้นของประเทศญี่ปุ่น

ต่อมาในปี ค.ศ. 1871 คิโดะได้เข้าร่วมคณะการทูตอิวากูระในการเดินทางรอบโลกสู่สหรัฐอเมริกาและยุโรป เขาได้สนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับระบบการศึกษาและระบบการเมืองของชาวตะวันตก ซึ่งในระหว่างเดินทางกลับญี่ปุ่น เขาจึงได้กลายเป็นผู้สนับสนุนในการสถาปนาในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และด้วยความตระหนักว่าญี่ปุ่นในช่วงนั้นยังไม่อาจท้าทายได้ต่อมหาอำนาจจากตะวันตก และสาเหตุของการเดินทางกลับในครั้งนั้นของคิโดะจึงได้แก่การยับยั้งความคิดในการรุกรานของเกาหลี ซึ่งกำลังจะเป็นประเด็นในการอภิปรายทางการเมืองที่เล่าร้อนในครั้งนั้นด้วย

Kido Takayoshi ได้สูญเสียตำแหน่งจากกลุ่มคณาธิปไตย เมจิให้แก่โอกูโบะ โทชิมิจิ และลาออกจากรัฐบาลเพื่อเป็นการประท้วงการรุกรานในไต้หวันเมื่อปี ค.ศ. 1874 ซึ่งเขาได้แสดงท่าทีที่คัดค้าน แต่ต่อมาเขาจึงได้กลับเข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งตามผลการตกลงในการประชุมที่โอซากะเมื่อปี ค.ศ. 1875 และเป็นประธานของสภาผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นจากการประชุมดังกล่าวและนอกจากนี้ยังเป็นผู้รับผิดชอบการถวายการศึกษาแก่จักรพรรดิเมจิผู้ยังทรงพระเยาว์อีกด้วย

Kido Takayoshi ได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1877 ด้วยโรคภัยไข้เจ็บทางร่างการของตนซึ่งเบียดเบียนมานานร่วมปี ในเวลานั้นเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับกบฏซัตสึมะ

มรดกจากคิโดะ

บันทึกของ Kido Takayoshi จึงเปิดเผยถึงความขัดแย้งในความคิดของเขา ในระหว่างความภักดีต่อแว่นแคว้นของตนและความภักดีต่อผลประโยชน์ของชาติที่เป็นสิ่งยิ่งใหญ่กว่า ในบ่อยครั้งเขาจะบันทึกถึงเรื่องการต่อสู้กับข่าวเรื่องการทรยศหักหลังต่อเพื่อนเก่าของตน ทั้งนี้เนื่องจากอุดมคติเรื่องความเป็นรัฐชาติในเวลานั้นยังเป็นเรื่องใหม่ และซามูไรส่วนใหญ่มักเป็นห่วงถึงเรื่องการรักษาสถานะของตนภายในแว่นแคว้นของตนเอง

Kido Takayoshi ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสามขุนนางผู้ยิ่งใหญ่ ร่วมกับโอกูโบะ โทชิมิจิ และไซโง ทากาโมริ หลานปู่ของเขาคนหนึ่ง คือ คิโดะ โคอิจิ ได้เป็นนักการเมืองของกรุงโตเกียวและที่ปรึกษาผู้ใกล้ชิดของจักรพรรดิโชวะนั่นเอง

5ที่เที่ยวลับในโตเกียว

5 ที่เที่ยวลับๆ ในโตเกียวที่อยากให้คุณรู้จัก

แม้จะเป็นเมืองใหญ่ที่ไปกันจนพรุนแล้วแต่ถ้าทำการบ้านดีๆ โตเกียวก็ยังคงมีอีกหลายมุมที่คนไม่รู้จัก ลองไปที่ๆคนไม่รู้จักแต่สวยแปลกตากันเถอะ

1. เขื่อนโอโงอุจิ (Ogouchi Dam)

1 เขื่อนโอโงอุจิ (Ogouchi Dam)

เมื่อสร้างเขื่อนโอโงอุจิ (Ogouchi) เพื่อเป็นแหล่งน้ำหลักที่ส่งจ่ายเข้าสู่ตัวเมืองโตเกียวและผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ก็เกิดเป็นทะเลสาบโอกุตามะ (Okutama) ซึ่งมีทัศนียภาพงดงาม โอบล้อมไปด้วยขุนเขาและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่ามาเที่ยวโตเกียวจริงหรือ เพราะภูมิทัศน์เหมือนอยู่คนละโลกกับโตเกียวที่รู้จักเลย ถ้ามาต่างฤดูก็จะเห็นวิวธรรมชาติที่สวยงามต่างกันไป ฤดูใบไม้ผลิก็มีซากุระให้ชม ฤดูร้อนก็มีความเขียวขจี ฤดูใบไม้ร่วงก็ได้ชมใบไม้เปลี่ยนสีด้วย เราสามารถลงไปเดินเล่นริมทะเลสาบและรับอากาศบริสุทธิ์ได้ตามอัธยาศัย

กลางทะเลสาบมีสะพาน Mugiyamauki เป็นสะพานทีใช้ถังน้ำมันเปล่ามาลอยตัวอยู่กลางทะเลสาบ (สวยสุดๆ แบบในภาพไตเติ้ลของบทความนี้) ซึ่งใช้เป็นสะพานข้ามไปศาลเจ้า Ogouchi ได้ พอเหนื่อยก็พอจะมีร้านกาแฟตรงพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ให้พักได้ (ร้านปิดวันพุธ) เขื่อนโอโงอุจินี้อาจไม่เป็นที่นิยมในการมาเที่ยวนักเพราะต้องนั่งรถหลายต่อ จึงเป็นสถานที่ลับๆ อีกแห่งในโตเกียวที่อยากแนะนำให้รู้จักกัน ใครอยากไปสัมผัสธรรมชาติในโตเกียวก็อย่าพลาดที่นี่เชียวนะ

เวลาทำการ
เปิดตลอด
ค่าเข้าชม
ฟรี
การเดินทาง
ขึ้นรถไฟสาย Chuo Line จากสถานี JR Shinjuku นั่งไป 25 นาทีลงสถานี Tachikawa จากนั้นเปลี่ยนขบวน นั่งต่อไป 30 นาทีลงสถานี Ome แล้วเปลี่ยนขบวนรถอีกครั้งเพื่อจะไปลงสถานี Okutama จากนั้นต่อรถบัสไปที่เขื่อน (ติดต่อซื้อตั๋วได้ที่สถานี Okutama)

2. ถ้ำหินปูนนิปปะระ (Nippara Limestone Cave)

2 ถ้ำหินปูนนิปปะระ (Nippara Limestone Cave)

ถ้ำนิปปะระนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ค่อยดังเท่าไหร่ นักท่องเที่ยวก็ไม่ค่อยมีมา อาจเป็นเพราะคนไม่นิยมเที่ยวถ้ำกันนักและใช้เวลาเดินทางมาพอสมควร แต่ถ้ำนิปปะระก็เป็นอีกแห่งที่น่าสนใจแถวชานโตเกียวที่สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นถ้ำหินปูนที่มีงอกหินย้อยรูปทรงสวยงาม ตัวถ้ำมีขนาดใหญ่และลึกถึง 800 เมตร ภายในถ้ำก็มีการเล่นไฟหลายสีสวยงามไม่หยอกเลยเชียวล่ะ แต่ในถ้ำก็อากาศค่อนข้างเย็น ถ้าเป็นคนขี้หนาวก็เตรียมเสื้อหนาๆ ไปเผื่อด้วยก็ดีเพราะอุณหภูมิในถ้ำจะอยู่ที่ 11 องศาเซลเซียสตลอดทั้งปี ถ้ามาในฤดูร้อนก็จัดเป็นที่ท่องเที่ยวคลายร้อนได้เหมาะเลยทีเดียว

เวลาทำการ
1 เมษายน – 30 พฤศจิกายน
08.00 – 17.00 น.
1 ธันวาคม – 31 มีนาคม
08.30 – 16.30 น.
วันหยุด
30 ธันวาคม – 3 มกราคม
ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่ (รวมนักเรียนมัธยมปลาย) 700 เยน
นักเรียนมัธยมต้น 500 เยน
นักเรียนประถม 400 เยน
การเดินทาง
เดินทางไปสถานี Okutama ด้วยวิธีเดียวกับไปเขื่อน จากนั้นต่อรถบัส ที่ป้ายหน้าสถานีไปลงสุดสาย แล้วเดินต่อไปที่ถ้ำนิปปะระประมาณ 20 นาที

3. พิพิธภัณฑ์ว่าว (Tokyo Kite Museum)

ขอพาย้อนวัยไปสัมผัสของเล่นพื้นบ้านสมัยเด็กที่พิพิธภัณฑ์ว่าวของโตเกียว พิพิธภัณฑ์แห่งนี้รวบรวมว่าวญี่ปุ่น จีน และว่าวของประเทศในเอเชียเอาไว้กว่า 3000 ตัว เห็นมีว่าวจุฬาของไทยด้วยนะ

พอเข้ามาชมข้างในพิพิธภัณฑ์ก็จะได้ตื่นตาไปกับภาพวาดหน้าคน สัตว์ สิ่งต่างๆ ที่หลากสีสันและลวดลายพร้อมอวดโฉมบนตัวว่าวที่แขวนอยู่รอบทิศทาง บรรยากาศเรโทรหน่อยๆ มีกลิ่นอายสมัยเอโดะเยอะเลย เรียกได้ว่าได้พบกับอีกฉากหนึ่งของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่น่าประทับใจ และต้องบอกว่าหาชมว่าวเก่าๆขนาดนี้ได้ยากยิ่ง พิพิธภัณฑ์เล็กๆแห่งนี้กำลังรอการมาเยี่ยมชมของนักท่องเที่ยวอยู่ สำหรับผู้ที่สนใจว่าวเป็นพิเศษหรืออยากจะลองกลับไปเล่นเป็นเด็กๆ อีกสักครั้ง ที่นี่เขาก็มีเปิดสอนการทำว่าวด้วย

เวลาทำการ
11.00 – 17.00 น.
ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่ 200 เยน
เด็กนักเรียนประถม/มัธยมต้น 100 เยน
การเดินทาง
ขึ้นรถไฟใต้ดินสาย Tozai หรือ Ginza หรือ Toei Asakusa ไปลงสถานี Nihonbashi ออกทางออก C5 มองหาตึกที่มีร้าน Restaurant Taimeiken จะอยู่ใกล้ๆ สถานีเลย โดยพิพิธภัณฑ์ว่าวต้องขึ้นไปที่ชั้น 5

4. มัสยิดโตเกียว (Tokyo Camii & Turkish Culture Center)

4 มัสยิดโตเกียว (Tokyo Camii & Turkish Culture Center)

เอาใจคนชอบแนวอาร์ตๆ กับสถาปัตยกรรมสวยๆ กันหน่อย ถึงแม้มัสยิดจะไม่ใช่สิ่งก่อสร้างแบบญี่ปุ่นแต่ก็อยากแนะนำให้ไปเที่ยวชมมัสยิดโตเกียวคามิลกัน เพราะว่ากันว่ามัสยิดแห่งนี้ว่ากันว่าสวยงามที่สุดในเอเชียตะวันออก เลยไม่อยากให้พลาดสถานที่อันมีคุณค่าทางศาสนานี้

มัสยิดโตเกียวแห่งนี้สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบตุรกีผสมผสานเข้ากับศิลปะแบบออตโตมันและอิสลามได้อย่างลงตัว เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นจากมัสยิดที่มีอยู่ทั้งหมด 80 แห่ง ตั้งอยู่ใกล้สถานี Yoyogi-uehara ไม่ไกลจากย่านชิบุย่าฮาราจูกุ วันเสาร์-อาทิตย์ที่มัสยิดโตเกียวนี้เขามีจัดทัวร์สำหรับนักท่องเที่ยวด้วย ในเวลา 14.30 น. ใช้เวลาทัวร์ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

เวลาทำการ
10.00 – 18.00 น.
ค่าเข้าชม
ฟรี
การเดินทาง
ขึ้นรถไฟใต้ดินสาย Chiyoda มาลงสถานี Yoyogi Uehara ออกทางออก C01 แล้วเดินไปประมาณ 5 นาที

5. คาเฟ่สวนสัตว์ฮาราจุกุ (Harajuku Kawaii Zooland)

5 คาเฟ่สวนสัตว์ฮาราจุกุ (Harajuku Kawaii Zooland)

ปิดท้ายกันที่คาเฟ่สัตว์น่ารักที่เพิ่งเปิดเมื่อ ตุลาคม 2018 นี้เอง คาเฟ่สัตว์ต่างๆ เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนที่ได้รับความนิยม ใครๆ ก็คงเคยไปเที่ยวคาเฟ่สุนัข คาเฟ่แมวกันมาแล้ว แต่ที่จะแนะนำคราวนี้เป็นคาเฟ่ที่เราจะได้สัมผัสสัตว์ตัวเล็กๆ ซึ่งเราจะไม่ได้เห็นสัตว์เหล่านี้ที่คาเฟ่อื่นๆแน่นอน เครื่องดื่มของที่นี่เป็นแบบบริการตัวเอง ส่วนอาหารไม่มีบริการ

สัตว์ของฮาราจุกุคาเฟ่นี้เป็นสัตว์ประเภทหาดูได้ยาก เช่นเจ้าคาปิบารา (Capybara) ซึ่งเป็นหนูที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือว่าเมียร์แคท (Meer kat) เฟอเรท (Ferret) จิ้งจอกทะเลทราย (Fennec Fox) หรือแม้แต่หนูแฮมสเตอร์ยอดนิยมเป็นต้น ลูกค้าสามารถสัมผัสความน่ารักได้อย่างใกล้ชิด เหมาะสำหรับการพักผ่อนเยียวยาจิตใจหลังจากช้อปปิ้งมาเหนื่อยๆ หรือใครที่อยากไปสวนสัตว์แต่ไม่อยากเดินทางไกล และใครที่อยากเลี้ยงสัตว์เล็กๆ ประเภทนี้แต่ไม่เคยสัมผะส ก็ลองมาแวะเล่นได้ที่นี่ เป็นความคิดที่ดีใช่ไหมล่ะ

เวลาทำการ
11.00 – 19.00 น.
เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด
ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่ 1500 เยนต่อ 30 นาที
เด็กต่ำกว่า 15 ปี 1200 เยนต่อ 30 นาที
เด็กเล็ก (ไม่เกิน 3 ขวบ) เข้าฟรี
การเดินทาง
ขึ้นรถไฟสาย JR Yamanote ลงสถานี JR Harajuku แล้วเดินต่อไปประมาณ 5 นาที

อิโต ฮิโระบุมิ นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศญี่ปุ่น

อิโต ฮิโระบุมิ นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศญี่ปุ่น

ฮิโระบุมิ อิโต (ญี่ปุ่น: 伊藤 博文 Itō Hirobumi ) (16 ตุลาคม 2384 – 26 ตุลาคม 2452) เป็นนักการเมืองชาวญี่ปุ่น
นอกจากจะมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของญี่ปุ่นแล้ว ยังเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น 4 สมัย, ประธานองคมนตรีคนแรก, ประธานวุฒิสภา, ผู้ตรวจราชการโชซอน (韓国統監府統監) และผู้ว่าราชการจังหวัดเฮียวโงะ (จากการแต่งตั้ง) เป็นผู้ก่อตั้งพรรคริกเค็นเซยูไค (立憲政友会) ซึ่งเป็นรากฐานของพรรคเสรีประชาธิปไตยที่เป็นพรรคฝ่ายค้านของญี่ปุ่นในปัจจุบัน และยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเยล ในสหรัฐอเมริกา

ชีวิตเยาว์วัย-และเข้าเป็นทหาร


อิโต ฮิโระบุมิ มีชื่อเดิมว่า โทะชิสึเกะ เป็นบุตรคนโตของครอบครัวชาวนาในเมืองฮางิ แคว้นโจชู (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดยะมะงุจิ) บิดาชื่อว่า จูโซ มารดาชื่อว่าโคะโตะโกะ เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจนมาก จึงต้องส่งโทะชิสึเกะไปเป็นบุตรบุญธรรมของซามูไรระดับล่างในท้องถิ่น ชื่อว่า อิโต นะโอะเอะมง ตั้งแต่อายุ 12 ขวบ หลังจากเข้าเรียนในโรงเรียนมัตสึชิตะจุกุ ก็ไปเกี่ยวพันกับขบวนการโค่นล้มระบอบโชกุนในสมัยนั้น

ในปี 2405 ขณะที่มีอายุได้ 21 ปี ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนลอบสังหารนะงะอิ อุตะ ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดที่ให้รัฐบาลทหารรวมตัวกับราชสำนักในเกียวโต (และรักษาระบอบโชกุนเอาไว้) นอกจากนี้ยังเข้าร่วมลอบวางเพลิงสถานกงสุลอังกฤษ จนมีชื่อในฐานะผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านต่างชาติต่อมาในปี 2406 ได้ไปเรียนต่อที่อังกฤษ (คาดว่าแนวคิดต่อต้านต่างชาติคงจะเบาบางลง หลังจากได้เห็นสภาวะของอังกฤษในช่วงนั้น ที่มีกำลังเหนือกว่าญี่ปุ่นมาก) ดังนั้นเมื่อรู้ข่าวว่าแคว้นของตนกำลังเตรียมทำสงครามกับอังกฤษ ก็รีบกลับประเทศเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงสงคราม แต่ไร้ผล เพราะในที่สุดแคว้นโจชูก็ได้ทำสงครามกับอังกฤษ (แน่นอนว่าอังกฤษที่มีเทคโนโลยีเหนือกว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบ) และหลังสงครามทำหน้าที่เป็นล่ามในการเจรจาสงบศึก

หลังจากที่กองทัพของแคว้นโจชูทำสงครามกับรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะและเป็นฝ่ายได้เปรียบ รัฐบาลของแคว้นโจชูก็ได้แสดงเจตนาที่จะโค่นล้มรัฐบาลโชกุนอย่างชัดแจ้ง ฮิโระบุมิก็ได้เข้าเป็นทหารในกองทัพของแคว้นในช่วงนั้นด้วย กองทัพที่ว่านี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปเมจิประสบความสำเร็จ

บุคคลสำคัญของญี่ปุ่น

บุคคลสำคัญของญี่ปุ่น

 

1. คิโดะ ทาคาโยชิ (Kido Takayoshi)

คิโดะ

บุตรชายแพทย์ซามูไร Wada Masakage เป็นรัฐบุรุษญี่ปุ่นในช่วงปลายงาวะและฟื้นฟูเมจิ เมื่อเขาทำงานกับโชกุน เขาใช้นามแฝงว่า Niibori Matsusuke เค้าคือ 1 ใน 3 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคปฏิรูปเมจิ ร่วมกับ โอคุโบะ โทชิมิจิ และ ไซโง ทาคาโมริ ทั้ง 3 จะรู้จักในนามว่า “the Ishin-no-Sanketsu” (สามขุนนางแห่งการฟื้นฟู) เป็นตัวแทนของแคว้นโจชู ที่ร่วมมือกับ แคว้นซัทสึมะ ในการโค่นล้มรัฐบาลโชกุน โทกุกาว่า และสถาปนารัฐบาลกลางแห่งองค์จักรพรรดิขึ้นมา รวมทั้งการยกเลิกระบบศักดินา และทำการปฏิรูประบบการเมือง การปกครอง ระบบเศรษฐกิจในญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

 

2. ทาคาสุกิ ชินซาคุ (Takasugi Shinsaku)

คนดังแห่งแคว้นโจชู ทาคาสุกิ มีเป้าหมายเดียวกับ คัทซึระ ในการโค่นล้มรัฐบาลโชกุน ฟื้นฟูอำนาจพระจักรพรรดิ แต่ ทาคาสุกิ เลือกใช้วิธีแบบหัวรุนแรง ก่อตั้งกองกองทหารกว่า 300 คน(ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นซามูไร) โดยใช้ชื่อว่า Kiheitai (เรียกแบบเท่ๆ ในกินทามะว่า กองทหารอสุรา) ขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาล (หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มนี้ก็คือ มือสังหารในตำนาน Kawakami Gensai ต้นแบบของ ฮิมุระ เคนชิน ใน ซามูไรพเนจร นั่นเอง)

 

 

 

 

 

 

3. มัตสึไดระ โยชินากะ (Matsudaira Yoshinaga)

ไดเมียว (เจ้าเมือง) แห่งแคว้นเอจิเซน สมัยเอโดะ เขาเป็นหนึ่งใน 4 ขุนนางที่ฉลาดที่สุดของกลุ่ม Bakumatsu

 

 

 

 

 

 

 

 

4. อาจารย์ ฟุคุซาวะ ยูคิจิ (Fukuzawa Yukichi)

คนสำคัญด้านการศึกษาของญี่ปุ่น ผู้นำระบบการศึกษาแบบตะวันตกเข้ามาใช้สอนในประเทศ อาจารย์ฟุคุซาวะ ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนแรกที่นำวิทยาการสมัยใหม่ของตะวันตกมาสอนให้กับคนญี่ปุ่น โดยตั้งโรงเรียนชื่อ Keio Gijuku ซึ่งในภายหลังได้พัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยเคโอ(Keio University มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น

 

 

 

 

 

 

 

5. โอคุมะ ชิเงโนบุ (Okuma Shigenobu)

นักการเมืองในจักรวรรดิญี่ปุ่น เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวง, เคยเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 2, เป็นผู้สนับสนุนเรื่องของวิทยาศาสตร์ตะวันตกและวัฒนธรรมในญี่ปุ่น อีกทั้งท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวาเซดะด้วย

 

 

 

 

 

 

6. ชิโร ไซโง (Shiro Saigo)

ศิษย์รุ่นแรกของ ปรมาจารย์คาโน่ จิโกโร่ (Kano Jigoro) ผู้คิดค้นวิชายูโด อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 4 จตุรเทพแห่งโรงฝึกโคโดคัง ผู้คิดค้นท่าทุ่มยามาอาราชิ อีกด้วย ปัจจุบันเขายังคงอยู่ในไอดอลญี่ปุ่นที่หนังสือหลายเล่มและภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับชีวิตความสำคัญของเขาและความกล้าหาญของเขาในฐานะนักสู้